วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562


                  
              Sugar Is more than  Sweetness

Sugar is the generic name for a sweet-tasting substance used in cooking. It is also found naturally in fruits, vegetables and milk. Sugar can cause global obesity and diabetes.
In Thailand, 200,000 people are diagnosed as diabetic patients each year with 8,000 deaths per year (Ministry Of Public Health [MOPH], 2016). However, we should eat sugar because our body requires energy from sugar, it eliminates blemishes and restores the balance of skin oil, provides energy and promote good mood.
Nowadays, Thai people consume too much sugar. Statistics show that Thai people eat 20 teaspoons per day which is 2 to 3 times   higher than the daily sugar demand. According to the World Health Organization, our body needs about 6 teaspoons (about 23-25 grams) of sugar per day or a maximum of 10 teaspoons (Ministry of Health [MOH], 2016). When the body does not burn out, sugar is converted into fat to accumulate in various parts of the body such as hips, buttocks, abdomen, legs and finally become obese. However, we can control diabetes by eating the right amount of sugar each day with proper resting and exercising, for example, having to eat 3 meals a day, get enough sleep and exercising.
Working within the body requires energy from sugar. All parts of the body, including muscles, brain, heart, and live need energy to work. When we eat food the food we eat will be digested by mixing it with acids and enzymes in the stomach. When the   stomach digests food, the carbohydrate containing sugars and starches in the food then the stomach and small intestines absorb the glucose and fructose then release into the bloodstream. Both glucose and fructose can be used immediately for energy or stored in our bodies, So sugar import energy to your body
Additionally, sugar is a natural source of glycolic acid, an alpha hydroxyl acid (AHA) that penetrates the skin and breaks down the "glue" that bonds skin cells, encouraging cell turnover and generating fresher, younger-looking skin. Glycolic acid is typically used to treat sun-damaged and aging skin. So, sugar can make our skin more resistant to the sun, help eliminates  blemishes  and  restores  the  balance  in  the  skin  oil. A good example of this advantage of sugar is using sugar body scrubs and body lotion to exfoliate dead surface skin cells and reveal glowing, smooth and healthy skin.
Furthermore, sugar provides energy and promote good mood. Doctors and scientists are examining the connections between sugar, our energy and mood. There is a scientific evidence to support the fact that dietary changes can have a positive impact on brain chemistry and metabolism, leading to improvements in mood and energy level, This Corresponds to a recently published study in the Journal of Clinical Endocrinology Metabolism by Tyron M.  Stanhope which reported that the consumption of a sugary beverage relieved the stress of female volunteers when this faced difficult mathematical problems. In this stage women consumed a beverage containing sugar or the non-nutritive sweetener aspartame three times a day for two weeks.  The result revealed that those given the sugary drinks had a significantly lower level of stress-associated cortisol than women drinking the artificially sweetened beverage.
To sum up, sugar is a natural ingredient gives sweetness that has been part of our meal for long time. Sugar can be used during processing and cooking and found naturally in fruits, vegetables and milk. Although a lot of sugar can be harmful, we have to eat the right amount of sugar to get energy, fresh and healthy skin, boost energy and good mood.





วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Hello :) 
 My name is Naruemon Kakaew   My nickname is Meena  ID :5881114011  I am 22 years old.   My birthday is 16/07/1996  I live in Thasala , Nakorn Sri Thammarat ,Thailand  I am joying in English Major at  Nakorn Sri Thammarat Rajabath       university 

อนุทินที่2

อนุทินที่ 2
คำสั่ง ---> ให้นักศึกษาดาวน์โหลด เนื้อหาบท 1 ให้อ่านและวิเคราะห์ให้ละเอียด
พร้อมตอบคำถามท้ายบทนี้มี 12 ข้อ ให้นักศึกษาทำลงในบล็อกได้เลย


แบบฝึกหัด 1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษยเ์ราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ เพราะกฎหมายมีความสำคัญมากคือ
1. กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติ
2. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสงบสุขและความยุติธรรมในประเทศ 3. กฎหมายก่อให้เกิดสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนในประเทศ 4. กฎหมายเป็นเครื่องประกันสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชนในประเทศ 5. กฎหมายเป็นหลักที่จะให้รัฐบาลยึดถือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ 6.กฎหมายเป็นกรอบแห่งความประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม
หากไม่มีกฎหมายประเทศหรือสังคมนั้นจะมีแต่ปัญหา กระทำความผิดอย่างเสรี สภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมไม่มีความสุขเพราะ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นกัน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาค จึงจำเป็นจะต้องมีข้อกำหนด ข้อตกลง หรือกฎหมายและมีบทลงโทษที่ชัดเจน


2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบนัจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ - อยู่ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีข้อบังคับและบทลงโทษสำหรับคนที่ทำความผิดทำให้ไมมีคนอยากทำความดี ตัวอย่างเช่น การลักทรัพย์ แล้วไม่ได้รับบทลงโทษ คนทุกคนก็จะคิดว่าการลักทรัพย์สามารถทำได้ ทุกคนก็จะลักทรัพย์ เป็นต้น
- หากไม่มีกฎหมาย
1.สังคมจะไม่มีความเสมอภาค
2.สังคมจะเต็มไปด้วยอาชญากรรม ไม่สงบเรียบร้อย
3.สังคมจะไม่สามัคคี เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ
4.ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและข้อขัเแย้งใดๆได้
5.ประชาชนจะไม่ได้รับความคุ้มครองและสิธิประโยชน์ใดๆ




3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ค. ที่มาของกฎหมาย ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ 1.ความหมาย
กฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับ ใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจน
2.ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย

ลักษณะหรือองค์ประกอบได้ 4 ประการคือ
1.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด
อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถ ใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้

2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์อาทิประกาศ ของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับ คำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย

3. ใช้บังคับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคม

จะสงบสุขได้

4.มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้น
การกระทำตามกฎหมายหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลที่กระทำผิดจะต้องไดร้ับโทษ

3.ที่มาของกฎหมาย
1. บทบญั ญตัิแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลกัษณ์อกัษร
2. จารีตประเพณี
3.ศาสนา
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลกับรรทัดฐานของคำพิพากษา

4. ประเภทของกฎหมาย
ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย การแบ่งประเภทกฎหมายตามลักษณะการใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงบทบาทและหน้าที่การนำเอากฎหมายไปใช้เป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ 1. กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลกำหนดข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญาโดยเฉพาะในทางอาญา คือประมวลกฎหมายอาญาจะ บัญญัติ ลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไรและในทางแพ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบท บัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น 2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้กฎหมายวิธีสารบัญญัติจะกำหนดระเบียบระบบขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน คือ เจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน แยกได้เป็น 3 ประเภท คือ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน และกฎหมายระหว่างประเทศ 1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศรัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมจึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น 2. กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเองเป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมจึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่งทั้งหลายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น 3.กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกิดจากความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแยกตามลักษณะความเกี่ยวพันประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เกิดขึ้นได้โดยข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่าง ประเทศต่อประเทศ หรืออาจมีประเทศอื่นเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก หรือเป็นภาคีด้วย กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน หรือระหว่างบุคคลที่อยู่ต่างรัฐ หรือต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกันระหว่างสองประเทศ และประเทศนั้นมีข้อตกลงรับรองให้ศาลแต่ละประเทศพิจารณาคดีหรือร่วมมือกันส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้


4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย

ตอบ ผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคมจึงต้องยึดมั่นและเคารพต่อหลักเกณฑ์ของกฎหมายในบ้านเมืองที่กำหนดไว้ ต้องไม่พยายามหาช่องว่างหรือช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ทั้งไม่พยายามใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นที่อ่อนด้วยกว่าทางสังคม หากมีผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือใช้อิทธิพลข่มขู่บังคับหรือใช้วิธีการนอกเหนือกฎหมาย อาจเป็นข้าราชการที่มีอำนาจในระดับสูงหรือผู้มีอิทธิพลซึ่งอาจใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือใช้ตามอำเภอใจโดยไม่ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่นหรือเกรงกลัวต่อกฎหมาย จึงต้องมีการใช้มาตรการลงโทษโดยเด็ดขาดเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสมาชิกในสังคม กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุขและความเป็นธรรมให้แก่บุคคลในสังคม ให้มีสิทธิและหน้าที่โดยเท่าเทียมกัน จากเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้นได้แสดงให้เห็นแล้วว่าทำไมสังคมและทุกๆประเทศต้องมีกฎหมาย


5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย

ตอบ กฎระเบียบและบมลงโทษที่ใช้บังคับที่ถูกกำหนดไว้


6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอยา่งไร

ตอบ แตกต่างกัน เนื่องจากกฎหมายอาญามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของชุมชนแต่กฎหมายแพ่งมีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชนจึงมีข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้
1.ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประขาชนทั่วไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด
2. กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดฉะนั้นหากผู้ทำผิดตายลงการสืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลดังนั้นเมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่างๆจากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น แดงจ้างดำวาดรูปต่อมาดำตายลงถือว่าหนี้ระงับลง

3. ความรับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา...” ส่วนความรับผิดทางแพ่ง ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดทั้งนั้น
4. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้าไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีความผิดและไม่มีโทษ เพราะกฎหมายอาญามีโทษรุนแรง กฎหมายแพ่ง หลักเรื่องตีความโดยเคร่งครัดไม่มี กฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ดังนั้น การที่จะเป้นความผิดทางแพ่งนั้น ศาลอาจตีความขยายได้
5. ความรับผิดทางอาญา โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
6. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ไม่อาจยอมความได้ เว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ ความผิดอันยอมความได้เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานยักยอก เป็นต้น เหตุผลก็คือ ความผิดทางอาญาถือว่าทำความเสียหายให้แก่มหาชน ทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง ผู้เสียหายจึงไม่อาจยกเว้นความรับผิดให้ได้ ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดให้ได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล หรือเรียกร้องหนี้สินแต่อย่างใดเลย
7. ความผิดในทางอาญา บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความรับผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม เช่น ถ้าเป็นผู้ลงมือกระทำผิดก็ถือเป็นตัวการ ถ้าเพียงแต่ยุยงหรือช่วยเหลือก็อาจผิดเพียงฐานะผู้สนับสนุน ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้ที่ร่วมกันก่อหนี้ร่วมกันทำผิดสัญญาหรือร่วมกันทำละเมิดตลอดทั้งยุยงหรือช่วยเหลือ จะต้องร่วมกับรับผิดต่อเจ้าหนี้หรือผู้ได้รับความเสียหายเหมือนกันหมด
8. ความรับผิดทางอาญา การลงโทษผู้กระทำผิดก็เพื่อที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ชุมชนเป็นส่วนรวม เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความหลาบจำและกลับตัวกลับใจเป็นคนดี อีกทั้งเพื่อป้องกันผู้อื่นมิให้เอาเยี่ยงอย่าง
ส่วนความรับผิดทางแพ่ง กฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ ซึ่งอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างใด กฎหมายก็ต้องการที่จะให้เขาได้รับการชดใช้ในความเสียหายอย่างนั้น ถ้าทำให้คืนสภาพเดิมไม่ได้ก็พยายามจะให้ใกล้เคียงมากที่สุด



7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ ระบบของกฎหมาย (Legal System) ระบบของกฎหมาย หรือตำราบางเล่มเรียกว่า สกุลของกฎหมาย (Legal Famly) เป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ 1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic) กฎหมายระบบนี้กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายโรมันโดยเฉพาะอิตาลีกับเยอรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนากฎหมายระบบนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังกฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญคำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างในการตีความกฎหมาย ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย 2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law) ตำราบางเล่มเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้วก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาดปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ 3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (Socialist Law) เกิดขึ้นและใช้อยู่ในสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศบริวาร เกิดจากความต้องการของนักกฎหมายของประเทศสังคมนิยมตามปรัชญาของลักทธิมาร์กซ์ ซึ่งความจริงก็คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเองแต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันก็คือกฎหมายระบบนี้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคมให้ความสำคัญเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยรัฐมีอำนาจเข้าไปจัดการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของประชาชนได้ และรัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้ ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น 4. ระบบกฎหมายศาสนา (Religon Law) เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้หลักทางศาสนาเป็นแม่บทในการปกครอง เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามซึ่งใช้อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ ข้อบัญญัติศาสนา การพิจารณาตัดสินคดีความก็จะใช้กฎแห่งศาสนาเป็นหลัก ระบบกฎหมายของประเทศไทย สำหรับประเทศไทย ในระยะแรกกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) ทรงสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมาย และนำเอาหลักกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาใช้ ต่อมาได้มีการปรับปรุงการศาลยุติธรรมและเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมายโดยมีการจัดทำประมวลกฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127เป็นฉบับแรกจากนั้นก็มีการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอื่น ๆ จึงถือได้ว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย


8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
อะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย


ตอบ แบ่งแยกกฎหมายตามลักษณะของการใช้ แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1.กฎหมายสารบัญญัติ (Substantive Law) สาระแปลว่าแกนหรือเนื้อแท้ดังนั้น จึงเป็นกฎหมายที่เป็นแก่นหรือเนื้อแท้ของกฎหมายจริงๆ คือเป็นกฎหมายที่วางระเบียบบังคับแก่การประพฤติปฏิบัติของพลเมืองให้กระทำหรือห้ามมิให้กระทำการใด ตลอดจนกำหนด สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ของบุคคลไว้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษในทางอาญาหรือถูกบังคับให้ชำระหนี้ในทางแพ่ง เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติป่าไม้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น 2.กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Adjective Or Procedural Law) หมายถึงที่กำหนดถึงวิธีดำเนินการทางศาล กล่าวคือหากมีผู้ใดกระทำละเมิดต่อกฎหมายในส่วนสารบัญญัติ การที่จะบังคับให้การที่จะบังคับให้การเป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติที่ถูกละเมิด ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ ต้องผ่านกระบวนการทางศาล ด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายจะไม่ให้พลเมืองลงโทษกันเอง มิฉะนั้นบ้านเมืองจะไม่มีวันสงบ จึงต้องให้กระบวนการทางการศาล ก็คือกระบวนการกฎหมายวีธีสบัญญัติ เช่น นาย ก. ลักทรัพย์ของนาย ข. ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ การที่จะลงโทษนาย ก. จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะถือว่าการร้องทุกข์ การจับ การค้น การสืบสวน การฟ้องของผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ วิธีพิจารณาและพิพากษาของศาลตลอดจนการลงโทษ หรือในทางแพ่งเช่น นาย A กู้เงินของนาย B แล้วผิดนัดไม่ชำละหนี้ การที่นาย B จะบังคับให้นาย A ชำระหนี้กู้แก่ตนก็จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งคือจะต้องบังคับนาย A ต่อศาลส่วนแพ่งให้บังคับนาย A ชำระหนี้เงินกู้แก่ตนก็จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่งคือต้องฟ้องบังคับนาย A ต่อศาลส่วนแพ่งให้บังคับนาย A ต่อศาลส่วนแพ่งให้กับนาย A ต่อศาลส่วนแพ่งให้บังคับนาย A ชำระเงินหนี้แก่ตน

แบ่งตามกฎหมายตามลักษณะความสัมพันธ์ของคู่กรณี โดยพิจารณาจากตัวบทกฎหมายนั้นว่ามีลักษณะอย่างไร ทั้งนี้เพ็งเล็งไปถึงความสัมพันธ์ของคู่กรณีว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างใครกับใคร ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

------ กฎหมายเอกชน (Private Law) หมายถึงกำหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานะภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน กฎหมายเอกชนที่สำคัญ เช่น
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายพาณิชย์
-------- กฎหมายมหาชน (Public Law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ในดินแดนของรัฐ กฎหมายมหาชนที่สำคัญ เช่น
กฎหมายรัฐธรรมนูญ 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายอาญา 
กญหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายว่าด้วยพระธรรมมนูญศาลยุติธรรม 

กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) เป็นกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งการเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะเห้นว่าไม่มีตัวบทกฎหมายระหว่างประเทศบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแม้แต่ฉบับเดียว แต่จะเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ถือปฏิบัติมา หรืออย่างมากก็เป็นเพียงสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างประเทศ



9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร

ตอบ ศักดิ์ของกฎหมายคือการจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่าหรืออาจเรียกอีกอย่างว่ากฎหมายลูก จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หากบัญญัติออกมามีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่แล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่าใช้บังคับมิได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน
การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น ออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

1. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้ โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
7. ประกาศคำสั่ง เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ คำสั่งหน่วยงานราชการ เป็นต้น
4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
5. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
6. ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น



10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกาย
ประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลทำผิดหรือถูก

ตอบ ทำผิด เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนมีสิทธิ์เรียกร้องสิทธิ์ เสรีภาพได้เสรี และรัฐบาลก็เป็นผู้มีอำนาจไม่ควรทำร้ายประชาชน



11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ กฎหมายศึกษา คือ การศึกษาที่มุ่งเน้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘หลักการปฏิบัติทางกฎหมาย’



12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่าเมื่อท่านไป

ประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ   ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของกฎหมาย เหตุผลทางกฎหมาย และไม่สามรสามารถนำวิธีการทางกฎหมายไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง หากไม่รู้กฎหมายก็อาจจะกระทำความผิดได้โดยไม่เจตนา






อนุทินที่1.

อนุทินที่ 1

ให้นักศึกษาแนะนำตนเอง  
1.ประวัติของตนเอง 
2.อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง  
3.เป้าหมายของตนเอง
   

-->    1.ประวัติของตนเอง 
ชื่อนางสาว นฤมล กาแก้ว ชื่อเล่น มีนา
รหัสนักศึกษา 5881114011 สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ 16 เดือนกรกฎาคม พศ.2539 อายุ 22 ปี ภูมิลำเนา 61/2 หมู่ 5 ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160 
อาชีพที้ใฝ่ฝันในอนาคต : ข้าราชการครู
อาหารที่ชอบ : ข้าวมันไก่
สีที่ชอบ : ชมพู , ทอง
งานอดิเรก : ฟังเพลง , ดูสารคดี , ฟังข่าว
คติพจน์ : practice make perfect

-->2. อุดมการณ์ในความเป็นครูของข้าพเจ้า
ยึดหลักพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ครูอาวุโส เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522 มีข้อความที่เกี่ยวกับลักษณะครูที่ดี 3 ประการ คือ “ความเป็นครูนั้นประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่มีคุณค่าสูงหลายอย่าง อย่างหนึ่งได้แก่
ปัญญา คือ ความรู้ที่ดีประกอบด้วยหลักวิชาอันถูกต้อง ที่แน่นแฟ้นกระจ่างแจ้งในใจ รวมทั้งความฉลาดที่จะพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนกิจที่จะทำ คำที่จะพูดทุกอย่างได้โดยถูกต้อง ด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง
ความดี คือ ความสุจริต ความเมตตากรุณา เห็นใจและปรารถนาดีต่อผู้อื่นโดยเสมอหน้าอีกอย่างหนึ่ง
ความสามารถ ที่จะเผื่อแผ่และถ่ายทอดความรู้ความดีของตนเองไปยังผู้อื่นอย่างได้ผล

-->3 .เป้าหมายในชีวิต
1.จบการศึกษาด้วยผลการเรียนที่ดี่จากสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์
2.สอบบรรจุข้าราชการได้ภายในปีแรกที่เรียนจบ
3.เป็นครูที่ดี ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์อย่างสุดความสามารถ
4.หางานเสริมทำเพื่อมีรายได้สองทาง
5.เก็บเงิน เพื้อชีวิตหลังเกษียร
3.1 เป้าหมายในการเรียนวิชานี้
1.ได้ผลการเรียนที้ดี
2 มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา
3.สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้ในการประกอบอาชีพและในอนาคต